วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 16

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์  2557



บันทึกการเรียน
  

                            -อาจารย์ อธิบายแนวข้อสอบ
                             - สร้างข้องตกลงในการสอบ



สัปดาห์ที่ 15

วันอังคารที่  11  กุมภาพันธ์  2557

บันทึกการเรียน

ด็กที่มีความบกพร่องในการเรียนรู้ LD
            1. การดูแลให้ความช่วยเหลือ
  >สร้างความภาคภูมิใจใจตนเอง
  >มองหาจุดดีจุดแข็งและให้คำชมอยู่เสมอ
  >  การเสริมแรงทางบวก
  >รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
  >วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกบการเรียนรู้ของเด็ก
  > สังเกตความสามารถและการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
     IEP

            2. การรักษาด้วยยา      
     >Ritalin
     >Dexedrine
     >   Cylext
           
           หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือ
    >  สศศ. สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ
    > มีหน้าที่ช่วยเหลือประสานงานและส่งตัวเด็ก
    >โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
    > ศูนย์การศึกษาพิเศษ  Early Intervention ย่อมาจาก EI
    >โรงเรียนเฉพาะความพิการ


    >สถาบันราชานุกูล



สัปดาห์ที่ 14


วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557


บันทึกการเรียน

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
·      รักษาตามอาการ
·      แก้ไขความผิดปกติที่พบร่วมด้วย
·      ให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
·      เน้นการดูแลแบบองค์รวม
1      ด้านสุขภาพอนามัย
2   ด้านส่งเสริมพัฒนาการ
การดำรงชีวิตประจำวัน
การฟื้นฟูสมรรถภาพ
·      การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
·      การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการการศึกษา
·      การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
            การเลี้ยงดูช่วง เดือนแรก
                   การปฏิบัติของบิดามารดา
·      ยอมรับความจริง
·      เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอน
·      ให้ความรักและความอบอุ่น
·      การตรวจภายใน ตรวจหามะเร็งปากมดลูก และเต้านม
·      การคุมกำเนิดและการทำหมัน
·      การสอนเพศศึกษา
·      ตรวจโรคหัวใจ
         การส่งเสริมพัฒนาการ
·                         พัฒนาทักษะด้านต่างๆ
·                         สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเอง
·                         สังคมยอมรับมากขึ้น
·                         คุณภาพชีวิตดีขึ้น
        ส่งเสริมความแข็งแรงครอบครัว
·                         ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุด
        ส่งเสริมความสามารถเด็ก
·                        การส่งเสริมโอกาสให้เด็กได้เล่น
·                        ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
       การปรับพฤติกรรมและฝึกษะทางสังคม
·                      เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสม
·                      การให้แรงเสริม
      การฝึกพูด
·                       ลดการใช้ภาษที่ไม่เหมาะสม
·                      ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว
·                       การสื่อความหมายทดแทน AAC
         
สัปดาห์ที่ 13
วันอังคารที่ 28 มการคม  2557


บันทึกการเรียน


ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์นัดสอบกลางภาคนอกตารางสอบ



วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สัปดาห์ที่ 12
วันอังคารที่ 21 มกราคม  2557


บันทึกการเรียน


พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

                      พัฒนาการ  หมายถึง  การเปลียนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพพัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ

                               - พัฒนาการด้านร่างกาย
                               - พัฒนาการด้านสติปัญญา
                               - พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
                               - พัฒนาการด้านสังคม
 
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก  
          ปัจจัยทางด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่วยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากบิดามารดา
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิษ สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
          ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด  การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
          ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด สภาวะหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาท และสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก เด็กที่ไม่มีบิดามารดา หรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่  อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่แออัด ยากจน เด็กถูกทอดทิ้ง-ล่วงละเมิด ปัจจัยด้านการศึกษา  เชาวน์ปัญญา และความสามารถของมารดา ในการจัดสภาพการเรียนรู้ของเด็ก


สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ

           1. โรคพันธุกรรม

               2. โรคของระบบประสาท

               3. การติดเชื้อ

          4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม 

          5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด 

          6. สารเคมี

          7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร 

อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ

        มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน ได้แก่ กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา  การใช้ภาษา  ความเข้าใจภาษา การช่วยเหลือตัวเองและสังคม นอกจากนี้อาจพบความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อร่วมด้วย เช่น  ปฏิกิริยาสะท้อน (primitive reflex) ยังคงอยู่ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป กล้ามเนื้ออ่อนนิ่มหรือเกร็ง อาจพบความผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปัญหาการได้ยิน ปัญหาการมองเห็น

แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ         
        1. การซักประวัติ

          1. ลักษณะพัฒนาการล่าช้าดังกล่าวเป็นแบบคงที่ (static) หรือถดถอย (progressive                    encephalopathy)
          2. เด็กมีระดับพัฒนาการช้าจริงหรือไม่ อย่างไร อยู่ในระดับไหน
          3. มีข้อบ่งชี้ว่าจะมีสาเหตุจากโรคทางพันธุกรรมหรือไม่
          4. สาเหตุของความบกพร่องทางพัฒนาการนั้นเกิดจากอะไร
          5. ขณะนี้เด็กได้รับการช่วยเหลือและฟื้นฟูอย่างไร


        2. การตรวจร่างกาย

            
2.1 ตรวจร่างกายทั่วๆไปทุกระบบ

            2.2  ภาวะตับม้ามโต

            2.3 ผิวหนัง เช่น cutaneous markers 

            2.4 ระบบประสาทต่างๆ

            2.5 ดูลักษณะของเด็กที่ถูกทารุณกรรม (child abuse)
         

            2.6 ระบบการมองเห็นและการได้ยินเพราะเป็นความพิการซ้ำซ้อนที่พบร่วมได้บ่อย

        3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ

       4.การประเมินพัฒนาการ                           

สัปดาห์ที่ 11
วันอังคารที่ 14 มกราคม  2557


บันทึกการเรียน


ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเพื่อนหลายคนไม่สามารถเดินทางมาเรียนได้ จากเหตุการการเมือง



ศึกษาเพิ่มเติม


เด็กพิเศษ
ดูแลด้วยความรัก พัฒนาด้วยความเข้าใจ
ศูนย์วิชาการ แฮปปี้โฮม
นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น
เด็กพิเศษ หรือเรียกเต็มๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือกลุ่มเด็กที่ไม่สามารถพัฒนาความสามารถได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ด้วยวิธีการปกติตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูตามปกติ หรือการเรียนการสอนตามปกติทั่วไป เนื่องจากข้อจำกัดบางประการที่มีอยู่ในตัวเด็ก ทางด้านร่างกาย สติปัญญา พฤติกรรม อารมณ์ หรือสัมพันธภาพทางสังคม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีวิธีการพิเศษ เพิ่มเติมจากการเรียนรู้ตามธรรมชาติของเด็ก เพื่อช่วยให้เด็กมีศักยภาพเต็มตามที่มีอยู่ได้
มีหลายมุมมองทางความคิดเกี่ยวกับแนวทางการดูแลเด็กพิเศษ ซึ่งไม่มีผิด ไม่มีถูก เพียงแต่ต้องมีการทบทวนความคิดอย่างเข้าใจ และพัฒนามุมมองของเราเองให้ถูกต้องตามที่เห็นว่าควรเป็น
บางคนมองว่า “อย่าไปบังคับเด็กเลย สงสารเด็ก”
บางคนก็มองว่า “ทำไมไม่ฝึกเด็กล่ะ เดี๋ยวก็ทำอะไรไม่เป็นหรอก”
บางคนก็มองว่า “เด็กก็ทำได้แค่นี้ จะไปเอาอะไรมากมาย”
บางคนก็มองว่า “เดี๋ยวโตขึ้นก็ดีเอง อย่าไปกังวลเกินเหตุ”
บางคนก็มองว่า “ต้องทุ่มเทฝึกกระตุ้นเด็กให้เต็มที่เท่าที่มีแรงทำ”
แนวทางการดูแลเด็กพิเศษ ไม่ว่าจะไปในทิศทางใดก็ตาม ถ้าเริ่มต้นจากการดูแลด้วยความรัก แล้วค่อยๆ พัฒนาด้วยความเข้าใจ ก็จะไปสู่จุดหมายปลายทางของการทำให้เด็กมีการพัฒนาเต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ไม่ยาก
การดูแลด้วยความรัก ก็คือสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนมีอยู่เต็มเปี่ยมอยู่แล้ว แต่ที่นำมาเน้นย้ำ เนื่องจากในความรักที่มีอยู่นี้ มักจะถูกบดบังด้วยความเครียด ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ และความรู้สึกอื่นๆ อีกมากมายในบางช่วงเวลา ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่จะเกิดความรู้สึกต่างๆ ขึ้นมาได้ในการดูแล แต่จำเป็นต้องหาวิธีจัดการความรู้สึกต่างๆ อย่างเหมาะสมต่อไป
สำหรับการพัฒนาด้วยความเข้าใจ ก็เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก ขึ้นชื่อว่าเด็กพิเศษแล้วต้องมีกระบวนการพัฒนาที่พิเศษ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ หลักเบื้องต้นง่ายๆ ในการพัฒนา คือ
“เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย”
“เด็กเป็นตัวตั้ง” กล่าวคือ ไม่มีสูตรสำเร็จรูปสำหรับการดูแลเด็กพิเศษทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกอายุ ควรเข้าใจธรรมชาติที่ว่า เด็กแต่ละคนมีความเหมือนกัน และมีความแตกต่างกัน เด็กอาจมีความบกพร่องในบางด้าน แต่ในขณะเดียวกันก็มีความสามารถในบางด้านเช่นกัน การมองแต่ความบกพร่องบางด้าน และคอยแก้ไขความบกพร่องไปเรื่อยๆ ก็อาจถึงทางตันในที่สุด ควรหันกลับมามองในด้านความสามารถของเด็กด้วยว่าเด็กมีความสามารถด้านใดบ้าง เพื่อวางแผนการดูแล ให้การส่งเสริมความสามารถที่มีอยู่ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถช่วยชดเชยความบกพร่องที่มีอยู่ได้
ดังนั้นการดูแลต้องวางแผนให้สอดคล้องกับสิ่งที่เด็กมี และสิ่งที่เด็กเป็น โดยวางแผนเฉพาะรายบุคคล ให้มีความเหมาะสมตามวัย และตามพัฒนาการของเด็ก
“ครอบครัวเป็นตัวหาร” กล่าวคือ ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแลเด็กพิเศษ และคงไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า ถ้าครอบครัวไม่ดูแล แล้วจะมีใครดูแลได้ดีกว่าอีกเล่า
แต่ในการดูแลนั้น การมีความรักอยู่เต็มเปี่ยม อาจจะไม่เพียงพอ ถ้าขาดความเข้าใจ การมีความรู้ มีเจตคติที่ถูกต้อง และมีทักษะ พัฒนาเทคนิควิธีให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ควรมีทั้งครอบครัว ต้องเน้นคำว่า “ ครอบครัว ” เพราะว่าไม่มีใครเก่งคนเดียว ต้องให้ความไว้วางใจกัน ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ครอบครัวเข้มแข็งคือพลังแห่งความสำเร็จ
ปัญหาที่มักเกิดขึ้นบ่อย คือ มีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจนเกินไป แม่ดูแลเด็กอย่างทุ่มเท ในขณะที่พ่อพยายามทำงานหนักขึ้น เพื่อจุนเจือครอบครัว ในที่สุดก็เกิดช่องว่าง พ่อก็เริ่มไม่มีทักษะการดูแลเด็ก แม่ก็ไม่ไว้ใจให้พ่อดูแล ช่องว่างก็มากขึ้น จนเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาในที่สุด
การเริ่มต้นและพัฒนาที่ดี คือการสุมหัวเข้าหากัน คุยกัน ไว้วางใจกัน และหารความรัก ให้ทุกคนในครอบครัวมีโอกาสช่วยเหลือเด็กเท่าๆ กัน
“ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย” ณ วันนี้ ความก้าวหน้าทางวิชาการมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูลใหม่ๆ มีเพิ่มเติมตลอดเวลา เป็นไปไม่ได้ที่คนเดียวจะรู้ทุกอย่าง มีทักษะทุกด้าน ตัวช่วยจึงมีความจำเป็น
ทีมงานผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย จิตแพทย์เด็ก พยาบาล นักจิตวิทยา นักแก้ไขการพูด นักกิจกรรมบำบัด นักกายภาพบำบัด ครูการศึกษาพิเศษ หรือวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ถือเป็นตัวช่วยที่สามารถให้คำแนะนำ คำปรึกษา และสาธิตเทคนิควิธีต่างๆ ให้นำไปฝึกปฏิบัติต่อไปได้
แต่ต้องไม่ลืมว่า ผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงตัวช่วยเท่านั้น ไม่ใช่ตัวหลักอย่างเช่นครอบครัว ฉะนั้นถ้าบทบาทผิดเพี้ยนไปจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญกลายเป็นตัวหลักขึ้นมา จะทำให้เด็กไม่สามารถพัฒนาได้เต็มศักยภาพที่มีอยู่จริง เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ที่ผู้เชี่ยวชาญจะรู้จัก และเข้าใจเด็กได้ดีกว่าครอบครัวที่อยู่กับเด็กตลอด
เมื่อมองจุดสุดท้ายที่เด็กพิเศษควรจะเป็น คือ พัฒนาเต็มตามศักยภาพที่เขามีอยู่ ถ้ายังไม่ถึงจุดนั้น ณ วันนี้ ก็ไม่เป็นไร เพราะวันหนึ่งต้องไปถึงแน่นอน ถ้ายังมีการดูแลด้วยความรักและพัฒนาด้วยความเข้าใจ โดยยึดหลัก
“เด็กเป็นตัวตั้ง ครอบครัวเป็นตัวหาร ผู้เชี่ยวชาญเป็นตัวช่วย”
จุดหมายปลายทางเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวัง แต่ระหว่างทางที่ไปสู่จุดหมายนั้น มีสิ่งสวยงามให้ชื่นชมมากมาย พัฒนาการของเด็กพิเศษแต่ละขั้น ก็คือสิ่งสวยงามที่น่าชื่นชม การชื่นชมสิ่งสวยงามที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ คือ กำลังใจที่ดีที่สุด



สัปดาห์ที่ 10
วันอังคารที่ 7 มกราคม  2557


บันทึกการเรียน
  

วันนี้อาจารย์ให้นักศึกาาแต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอ เรื่องที่เกี่ยวกับเด็กพิเศษดังนี้
 - ความบกพร่องทางสมองพิการ
 -  ความบกพร่องทางการเรียนรู้
 -  โรงสมาธิสั้น